หลักการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
การรู้หลักในการปลูกและการบำรุงรักษาต้นไม้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกไม้ประดับ
การรู้จักการเลือกต้นไม้มาปลูกจะต้องให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและดินฟ้าอาการในท้องถิ่นนั้น
ๆ เช่น จะต้องรู้ว่าการที่นำเอาต้นไม้ที่เกิดในท้องถิ่นหนาวมาปลูกในท้องถิ่นร้อน
หรือต้นไม้ที่ปลูกในท้องที่มีฝนมาก นำมาปลูกในท้องที่แห้งแล้ง
ย่อมทำให้ต้นไม้ไม่เจริญเติบโตงอกงาม เพราะดินฟ้าอากาศไม่เหมือนกัน
เหล่านี้เป็นต้น การที่ต้นไม้จะเจริญงอกงามสมบูรณ์ดีนั้น ก็ต้องประกอบด้วยสิ่งต่าง
ๆ หลายฝ่าย คือ
1. ดิน ต้นไม้จะเจริญงอกงามได้ดีนั้นต้องอาศัยดิน
เพราะดินเป็นแหล่งอาหารพืช ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ และอินทรีย์วัตถุอัน
เกิดจากการเน่าเปื่อยของสัตว์และจากซากพืช ดินที่อุดมสมบูรณ์ก็จะทำให้เจริญเติบโต
ในทาง ตรงกันข้าม ถ้าเราปลูกต้นไม้แล้วไม่เจริญเติบโต ก็แสดงว่าดินนั้นไม่อุดมสมบูรณ์
จำเป็นจะต้องปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ย ปูนขาว หรือพืชวัตถุอื่น ๆ
ดินที่พืชต้องการคือดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชวัตถุ อาจจะเป็นหญ้า ฟาง ใบไม้
หรือพืชอื่น ๆ ที่ผุเปื่อย มูลสัตว์ต่าง ๆ ที่ผสมอยู่ในดิน
เพื่อให้เกิดความร่วนซุย รากของพืชจะได้ชอนไปหาอาหารได้สะดวก
และทำให้น้ำไหลซึมได้ง่าย และลักษณะของดิน มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด
คือ
ดินเหนียว คือดินที่มีเนื้อดินละเอียดจับกันเป็นก้อนเหนียว
มีช่องที่จะทำให้อากาศและน้ำผ่านไปได้น้อยมาก ดินชนิดนี้ไม่เหมาะแก่การปลูกต้นไม้
เพราะรากหาอาหารได้ยากและทำให้เกิดโรครากเน่า ต้นไม้ไม่เจริญเติบโต ดัง นั้น
ถ้าดินที่จะปลูกไม้ประดับนั้นเป็นดินเหนียวจำเป็นจะต้องทำดินเหนียวนั้นให้ร่วนซุยเสียก่อน
โดยการผสมกับทรายถมที่และอินทรีย์วัตถุ ได้แก่พืชวัตถุหรือมูลสัตว์อย่างละเท่ากัน
ดินทราย เป็นดินที่อากาศผ่านได้สะดวก
อุ้มนํ้าได้น้อย ไม่พอกับความต้องการของพืช อาหารของพืชมีน้อย
เมื่อปลูกไม้ประดับก็จะทำให้ไม้ประดับนั้นไม่เจริญเติบโต
จำเป็นจะต้องปรับปรุงดินทรายนั้นให้ดีขึ้นโดยใส่ดิน เหนียวและอินทรีย์วัตถุลงไป
ดินร่วน เป็นดินที่เหมาะสมแก่การปลูกต้นไม้
เพราะมีอินทรีย์วัตถุผสมอยู่แล้ว
2. อุณหภูมิ คือความร้อนหรือความเย็นของอากาศในวันหนึ่ง
ๆ อุณหภูมิสูง หมายความว่าอากาศในวันนั้นร้อนมาก อุณหภูมิต่ำ
หมายความว่าอากาศในวันนั้นหนาวเย็น
อุณหภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชคืออุณหภูมิที่ไม่หนาวและร้อนเกินไป
ประมาณ 15-40 องศาเซ็นเซียส
อุณหภูมิที่สูงหรือตํ่าไปพืชจะไม่เจริญงอกงามตามที่ควร เพราะเมื่ออุณหภูมิต่ำลง ๆ
รากของพืชจะดูดน้ำได้น้อย และในทำนองเดียวกัน ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น ๆ
รากของพืชก็จะดูดน้ำได้น้อยเช่นกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อุณหภูมิสูงขึ้น ๆ
รากของพืชก็จะดูดน้ำได้น้อยเช่นกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า
อุณหภูมิสูงหรือตํ่าเกินไปไม่เหมาะต่อการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของพืช
ก็เกิดผลทำให้พืชไม่เจริญเติบโตได้ หรือชะงักการเจริญเติบโตในชั่วระยะเวลานั้น ๆ
ปัญหาที่ว่าอุณหภูมิตํ่าเกินไป ทำให้ดินเย็นนั้น คงจะไม่เป็นปัญหา
เพราะประเทศเราเป็นประเทศร้อน แต่มีปัญหาเกี่ยวกับความร้อนในดิน
หรืออุณหภูมิสูงเสียมากกว่า ซึ่งมีผลกระทบ กระเทือนต่อต้นอ่อนของพืช
เพราะจะทำให้ต้นอ่อนของพืชเฉา เนื่องจากความชื้นในดินระเหยไปหมด
ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ กระทำได้โดยการหาวัตถุคลุมดิน เช่นหญ้าหรือฟางคลุมดินไว้
3. แสงสว่าง มีความจำเป็นต่อพืชมาก
เพราะแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานที่จะทำให้พืชเจริญเติบโต
ประโยชน์ของแสงสว่างที่มีต่อพืชมีดังนี้
·
เป็นพลังงานที่พืชใช้ในการปรุงอาหาร
แสงสว่างที่ส่องลงมาจะต้องมีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของพืชแต่ละชนิด เพราะพืชต่าง
ๆ ใช้แสงสว่างไม่เท่ากัน แสงน้อยเกินไป พืชจะปรุงอาหารไม่ได้
ดังนั้นในการดูแลรักษาต้นไม้
จำเป็นจะต้องตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดส่องลงให้ทั่วถึงทั้งต้น
เพื่อให้ใบทุกใบทำหน้าที่ปรุงอาหารให้เต็มที่
·
เกี่ยวกับความงอกงามของเมล็ดพืช เพราะแสงแดดมีแสงอินฟราเรด
เป็นแสงที่ช่วยให้พืชงอกงามเร็ว นอกจากเกี่ยวกับการงอกงามของเมล็ดแล้ว
แสงสว่างยังช่วยทำให้ลำต้นเจริญรวดเร็วด้วย ดังจะเห็นได้จากต้นไม้
มักจะเอนเข้าหาแสงสว่างอยู่เสมอ ถ้าที่ถูกแสงสว่างมาก
มักจะเจริญรวดเร็วกว่าด้านที่ถูกแสงสว่างมาก มักจะเจริญรวดเร็วกว่าด้านที่ไม่ถูกแสงสว่าง
·
เกี่ยวกับทางสรีระภายใน
พืชบางอย่างจะออกดอกในเมื่อได้รับแสงสว่างเพียงพอ แสงมากไปหรือน้อยไปก็ไม่ออกดอก
ดังนั้นในการปลูกต้นไม้ ผู้ปลูกจะต้องทราบว่า ต้นไม้แต่ละชนิดนั้น
ต้องการแสงสว่างมากหรือน้อยเพียงใด ถ้าแสงแดดมากเกินไปก็จะเผาใบไม้ไหม้ ใบไม้นั้นก็ไม่สามารถจะทำหน้าที่ปรุงอาหารได้
เมื่อปรุงอาหารไม่ได้ต้นไม้ก็ชะงักการเจริญเติบโต และในทางตรงกันข้าม
ถ้านำต้นไม้ที่ชอบกลางแจ้งไปปลูกในร่มที่ไม่ได้รับแสงแดด ต้นไม้ก็ไม่เจริญเติบโต
เพราะไม่มีแสงแดดสำหรับ เป็นพลังงานในการสังเคราะห์แสง (ปรุงอาหาร)
4. ความชุ่มชื้น ความชุ่มชื้น
หมายถึง ความชุ่มชื้นที่อยู่ในดิน และความชุ่มชื้นที่อยู่ในอากาศ
ความชุ่มชื้นที่อยู่ในดิน สำหรับละลายแร่ธาตุต่าง ๆ
แล้วรากก็ดูดส่งไปตามลำต้นถึงกิ่งและใบ
เมื่อได้รับแสงสว่างก็ปรุงแต่งให้เป็นอาหารบำรุงโครงร่างของต้นไม่ให้เจริญเติบโตต่อไป
ดินที่อุดมสมบูรณ์หากขาดน้ำเสียแล้ว
รากก็ไม่สามารถจะดูดเอาแร่ธาตุที่เป็นอาหารของพืชมาจากดินได้
ดินที่สมบูรณ์นั้นก็หาประโยชน์มิได้ นอกจากความชุ่มชื้นในดินแล้ว
ความชุ่มชื้นในอากาศก็มีความจำเป็นต่อต้นไม้
เพราะทำให้ต้นไม้สดชื่นอยู่เสมอสีไม่เหี่ยวเฉา
5. อากาศ ในอากาศมีก๊าซสคาร์บอนไดออกไซด์
(co2) และก๊าซอ๊อกซิเจน (o2) พืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปทางใบ เพื่อนำไปสร้างน้ำตาลกลูโคส (C6H12o6)
ส่วนก๊าซอ๊อกซิเจนที่ต้นไม้หายใจเข้าไป
เพื่อนำไปทำให้น้ำตาลกลูโคสสลายตัว
ก่อให้เกิดกำลังงานสร้างความชื้นเพื่อถ่ายเทให้แก่ต้นไม้
การถ่ายเทของอากาศจะช่วยให้น้ำในใบของต้นไม้ระเหยได้เร็ว ซึ่งเรียกว่า “การคายน้ำ” เมื่อต้นไม้คายน้ำ
ทำให้น้ำในต้นไม้น้อยลงไป รากก็จะดูดน้ำจากที่ละลายปุ๋ย
หรือมีอาหารของพืชขึ้นมาแทนน้ำที่ระเหยไป ไปตามกิ่งก้านของต้นไม้
ส่งไปยังใบปรุงแต่งเป็นอาหาร ต้นไม้ก็เจริญเติบโตขึ้น
6. ปุ๋ย หรืออาหารของพืช
พืชต้องการอาหาร ซึ่งเป็นแร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในดิน ในอากาศ หรือในน้ำ
เพื่อไปสร้างความเจริญเติบโตให้แก่พืช แร่ธาตุที่พืชต้องการนั้นมีด้วยกันหลายชนิด
ธาตุแต่ละชนิดทำให้เกิดประโยชน์แก่พืชไม่เหมือนกัน พืชแต่ละชนิดก็ต้องการแร่ธาตุที่เป็นอาหารไม่เหมอนกัน
ปุ๋ยหรืออาหารของพืชนี้ จะกล่าวในเรื่องการใช้ปุ๋ยต่อไป
7. ปราศจากศัตรูและโรค ต้นไม้แม้จะมีอาหารดี
ถ้าถูกศัตรูรบกวนก็จะทำให้ต้นไม้นั้นไม่ เจริญเติบโตเท่าที่ควร
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาศัตรูของต้นไม้แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
·
สัตว์ต่าง ๆ ได้แก่สัตว์ที่มารบกวนหรือทำลายต้นพืช
แต่ส่วนใหญ่ได้แก่ตัวแมลงต่าง ๆ
·
โรค โรคของพืชแบ่งออกเป็น 2 พวก ย่อย ๆ คือ โรคที่เกิดจากเชื้อได้แก่ เชื้อรา
บักเตรี และเชื้อวิสา (Virus) พวกหนึ่งกับโรคที่
ไม่มีเชื้ออีกพวกหนึ่ง โรคเหล่านี้ได้แก่โรคที่เกิดจากสภาพทางฟิสิกส์ เช่น
สภาพของดิน หรือการขาดอาหารบางอย่าง หรืออาหารเป็นพิษ
เมื่อพืชต่าง ๆ เป็นโรค
ก็ต้องพิจารณาดูว่าโรคนั้นเกิดจากอะไร แล้วจึงใช้ยากำจัดโรคและกำจัดแมลงนั้น ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น