วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ  นางสาวสโรชา  ทองปลอด  
ชื่อเล่น  อ้อม  เรียนอยู่ชั้น ม.4/5 เลขที่45 
เกิดวันที่ 6 มีนาคม 2542 อายุ 15 ปี 
เรียน สายวิทย์-คณิต  
ชอบ สีชมพู  
การ์ตูนที่ชอบบ คิตตี้  
สัตว์ที่ชอบ สุนัข
คติประจำใจ  อย่าจมปลักกับอดีต 

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดาวกระจายสีชมพูเข้มต้นสูง


รายละเอียด
ดาวกระจายสีชมพูเข้ม ต้นสูง ขนาดความสูงของต้น 100 ซม. อายุออกดอก 60 วัน
ถิ่นกำเนิด อเมริกากลาง
ดาวกระจายเป็นไม้ดอกอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่ายและโตเร็ว สามารถขึ้นได้ในทุกที่ ๆ มีแสงแดดจัด ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อน หนาวหรือฝน
การขยายพันธุ์ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด
การดูแลรักษา การรดน้ำทำตามความจำเป็น เตรียมดินก่อนปลูกให้พอสมควร เมื่อต้นงอกและมีขนาดโตคือมีใบจริง 2-3 คู่

ใส่ปุ๋ยผสม 15-15-15 หรือใกล้เคียง ต้นละประมาณ 1 ช้อนชา เพียงครั้งเดียว ดาวกระจายจะงามทั้งต้นและดอก ปลูกได้ตลอดปี

ดอกดาวกระจาย

ดอกดาวกระจาย
ดอกดาวกระจายดอกดาวกระจาย
ผลดาวกระจาย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงแคบ มีสันประมาณ 3-4 สัน ผลค่อนข้างแข็ง มีรยางค์เป็นหยามยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร
สรรพคุณของดาวกระจาย
ช่วยกระจายลม ฟอกโลหิต (ทั้งต้น)[3]
ทั้งต้นดาวเรืองมีรสขม เป็นยาสุขุม ไม่มีพิษ โดยออกฤทธิ์ต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับและไต ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้
ช่วยแก้ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ลำคอปวดบวม (ทั้งต้น)
ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดกระเพาะ (ทั้งต้น) บ้างว่าใช้ใบและต้นนำมาต้มกับน้ำแล้วรินเอาแต่น้ำมาดื่มเป็นยาแก้อาการท้องร่วง (ใบและต้น
ใช้แก้บิด ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30-70 กรัม นำมาต้มผสมกับน้ำตาลเล็กน้อยแล้วใช้รับประทาน (ต้น)
ช่วยแก้ฝีในลำไส้ (ทั้งต้น)
ช่วยแก้ตับอักเสบเฉียบพลัน ไตอักเสบ (ทั้งต้น)
ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษงูกัด โดยการนำต้นสดมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนกากที่เหลือให้นำมาพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น,ใบและต้น)
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาบาดแผล (ทั้งต้น,ใบและต้น)
ใช้แก้อาการฟกช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30-70 กรัม นำมาตำให้แหลก ต้มกับน้ำผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ใช้รับประทานวันละ 1 ครั้ง (ต้น)
ข้อควรระวัง ! : สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของดาวกระจาย
ทั้งต้นดาวเรืองพบว่ามีสาร Alkaloid, Choline, Glycoside, Lavanol, Saponin, Tannin
ก้านและใบดาวเรืองพบว่ามีสารที่ให้รสขม หรือ Bittera และยังพบว่ามีน้ำมันระเหยอีกเล็กน้อย
สารสกัดที่ได้จากต้นสดของดาวกระจาย รวมกับหนอนหม่อนแห้ง แล้วนำไปให้หนูที่มีอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบ (ใช้ 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม) กินติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 วัน พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการยับยั้งอาการปวดข้อและข้ออักเสบได้ แต่ต้องใช้ทั้งสองชนิดรวมกัน หากแยกใช้ตัวใดตัวหนึ่งจะไม่เห็นผล

สารที่สกัดได้ด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Staphylo coccus ภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การใส่ปุ๋ยไม้ดอกไม้ประดับ

การใส่ปุ๋ย


ใส่ 3 ช่วงดังนี้ หลังตัดหญ้าเดือนพฤษภาคม ใส่สูตร 8-24-24 / หลังตัดหญ้าเดือนสิงหาคม ใส่สูตร 13-13-21 / และต้นเดือนพฤศจิกายน ใส่สูตร 16-16-16 


การเก็บเกี่ยววิธีการเก็บเกี่ยวดอกกล้วยไม้ 
มีหลักพิจารณา คือ
          1.ช่วงเวลาตัดดอก ควรตัดในช่วงเข้ามืด โดยใช้มือหักกดลงที่โคนก้านช่อ หรือตัดด้วยกรรไกร โดยต้องทำความสะอาดกรรไกรทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโดยเฉพาะจากเชื้อไวรัส
          2.ตัดดอกกล้วยไม้ในช่วงระยะการเจริญของดอกที่เหมาะสม  ถ้าตัดดอกตูมเกินไป อาจจะทำให้ดอกไม้บาน หรือบานแล้วมีขนาดเล็ก ถ้าตัดช้าเกินไป หรือบานมาก จะทำให้มีอายุการใช้งานสั้นลง
3.ไม่ควรตัดดอกกล้วยไม้หลังจากที่เพิ่งให้ปุ๋ย 1 - 2 วัน โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน เนื่องจากดอกจะเหี่ยวเร็วและช้ำง่าย

การดูแลรักษาโรคต่างๆของไม้ดอกไม้ประดับ

การดูแลรักษาโรคต่างๆ
โรค โรคเน่าดำ (Black not disease)
อาการ ใบและลำต้นมีรอยเป็นสีดำ ต่อมาทำให้ใบเหี่ยวหลุดร่วง
การป้องกัน - อย่าให้น้ำแฉะเกินไป
-รักษาความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องมือปลูก
การรักษา ตัดหรือทำลายส่วนที่เป็นโรคทิ้ง หรือใช้ 8 ไฮดร๊อคซี่ควิโนลิ่น ซัลเฟต อัตราส่วนและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก
 โรค เหี่ยว Fusarium wilt
อาการ ใบและลำต้น มีสีเหลืองซีด แห้ง บิดงอ
การป้องกัน -อย่าให้น้ำแฉะหรือมากเกินไป
การรักษาความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องปลูก
การรักษา นำต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย ศัตรู เพลี้ยไฟ
อาการ กลีบดอกแห้งและร่วง
การป้องกัน
ใช้ยาคลอเดน 75% อัตราและคำแนะนำการใช้ระบุไว้ตามฉลากฉีดพ่น บริเวณใบและดอกขณะดอกยังตูม
การกำจัด ใช้ยานิโคตินซัลเฟต 40% อัตราและคำแนะนำการใช้ระบุไว้ตามฉลาก
การตัดหญ้า

ตัดปีละ 4 ครั้ง คือต้นเดือน มกราคม / พฤษภาคม สิงหาคม และ ปลายเดือนตุลาคม

วิธีการดูแลรักษาไม้ดอก

วิธีการดูแลรักษาไม้ดอก
หลังจากทำการปลูกไม้ดอกประดับลงในแปลงใหม่ ๆ ควรทำร่มบังแดดให้กับต้นกล้าที่ปลูกประมาณ 7 - 10 วัน เพื่อช่วยให้ต้นกล้านั้นตั้งตัวได้เร็วขึ้น สำหรับการดูแลรักษาที่ควรปฏิบัติ คือ
1. การให้น้ำ เมื่อทำการปลูกใหม่ ๆ ควรรดน้ำให้วันละ 2 ครั้ง คือในตอนเช้าและตอนเย็น หรือตามความต้องการของพันธุ์ไม้ที่ปลูก เช่น บางวันลมแรง แดดจัด อากาศร้อน การคายน้ำย่อมมีมากอาจต้องมีการให้น้ำเพิ่มขึ้น สภาพของดินก็มีส่วนสำคัญต่อการให้น้ำ ดินบางชนิดอาจต้องรดน้ำบ่อย ๆ เนื่องจากดินไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ ดังนั้นผู้ปลูกจึงต้องเรียนรู้ถึงความ ต้องการน้ำของพืชที่ปลูกด้วยตัวเองในระยะแรกของการปลูกซึ่งจะทำให้ทราบว่าจะต้องให้น้ำวันละกี่ครั้ง หรือ กี่วันครั้ง
2. การพรวนดิน เพื่อกำจัดวัชพืชควรทำทุก 10 วัน ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น แปลงขนาด 4 X 4 เมตร อาจใช้เสียมมือ หรือ ส้อมพรวน ค่อย ๆ พรวนดินระหว่างแถวที่ปลูกพืช แต่ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ก็ควรใช้จอบพรวน การพรวนดินบริเวณที่มีรากฝอยจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างรากฝอยมากขึ้น แต่ต้องระวังอย่าไปตัดรากพืชโดยเฉพาะรากแก้ว เพราะจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตได้

3. การให้ปุ๋ย ถึงแม้ว่าเวลาเตรียมดินจะมีการใส่ปุ๋ยลงในแปลงแล้วก็ตามแต่ก็ควรให้ปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารแก่พืชเพิ่ยง เร่งในส่วนที่เราต้องการ เช่น ปุ๋ยยูเรีย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต

หลักการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ

หลักการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
การรู้หลักในการปลูกและการบำรุงรักษาต้นไม้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกไม้ประดับ การรู้จักการเลือกต้นไม้มาปลูกจะต้องให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและดินฟ้าอาการในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น จะต้องรู้ว่าการที่นำเอาต้นไม้ที่เกิดในท้องถิ่นหนาวมาปลูกในท้องถิ่นร้อน หรือต้นไม้ที่ปลูกในท้องที่มีฝนมาก นำมาปลูกในท้องที่แห้งแล้ง ย่อมทำให้ต้นไม้ไม่เจริญเติบโตงอกงาม เพราะดินฟ้าอากาศไม่เหมือนกัน เหล่านี้เป็นต้น การที่ต้นไม้จะเจริญงอกงามสมบูรณ์ดีนั้น ก็ต้องประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ หลายฝ่าย คือ
1. ดิน ต้นไม้จะเจริญงอกงามได้ดีนั้นต้องอาศัยดิน เพราะดินเป็นแหล่งอาหารพืช ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ และอินทรีย์วัตถุอัน เกิดจากการเน่าเปื่อยของสัตว์และจากซากพืช ดินที่อุดมสมบูรณ์ก็จะทำให้เจริญเติบโต ในทาง ตรงกันข้าม ถ้าเราปลูกต้นไม้แล้วไม่เจริญเติบโต ก็แสดงว่าดินนั้นไม่อุดมสมบูรณ์ จำเป็นจะต้องปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ย ปูนขาว หรือพืชวัตถุอื่น ๆ ดินที่พืชต้องการคือดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชวัตถุ อาจจะเป็นหญ้า ฟาง ใบไม้ หรือพืชอื่น ๆ ที่ผุเปื่อย มูลสัตว์ต่าง ๆ ที่ผสมอยู่ในดิน เพื่อให้เกิดความร่วนซุย รากของพืชจะได้ชอนไปหาอาหารได้สะดวก และทำให้น้ำไหลซึมได้ง่าย และลักษณะของดิน มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ
ดินเหนียว คือดินที่มีเนื้อดินละเอียดจับกันเป็นก้อนเหนียว มีช่องที่จะทำให้อากาศและน้ำผ่านไปได้น้อยมาก ดินชนิดนี้ไม่เหมาะแก่การปลูกต้นไม้ เพราะรากหาอาหารได้ยากและทำให้เกิดโรครากเน่า ต้นไม้ไม่เจริญเติบโต ดัง นั้น ถ้าดินที่จะปลูกไม้ประดับนั้นเป็นดินเหนียวจำเป็นจะต้องทำดินเหนียวนั้นให้ร่วนซุยเสียก่อน โดยการผสมกับทรายถมที่และอินทรีย์วัตถุ ได้แก่พืชวัตถุหรือมูลสัตว์อย่างละเท่ากัน


ดินทราย เป็นดินที่อากาศผ่านได้สะดวก อุ้มนํ้าได้น้อย ไม่พอกับความต้องการของพืช อาหารของพืชมีน้อย เมื่อปลูกไม้ประดับก็จะทำให้ไม้ประดับนั้นไม่เจริญเติบโต จำเป็นจะต้องปรับปรุงดินทรายนั้นให้ดีขึ้นโดยใส่ดิน เหนียวและอินทรีย์วัตถุลงไป


ดินร่วน เป็นดินที่เหมาะสมแก่การปลูกต้นไม้ เพราะมีอินทรีย์วัตถุผสมอยู่แล้ว



2. อุณหภูมิ คือความร้อนหรือความเย็นของอากาศในวันหนึ่ง ๆ อุณหภูมิสูง หมายความว่าอากาศในวันนั้นร้อนมาก อุณหภูมิต่ำ หมายความว่าอากาศในวันนั้นหนาวเย็น อุณหภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชคืออุณหภูมิที่ไม่หนาวและร้อนเกินไป ประมาณ 15-40 องศาเซ็นเซียส อุณหภูมิที่สูงหรือตํ่าไปพืชจะไม่เจริญงอกงามตามที่ควร เพราะเมื่ออุณหภูมิต่ำลง ๆ รากของพืชจะดูดน้ำได้น้อย และในทำนองเดียวกัน ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น ๆ รากของพืชก็จะดูดน้ำได้น้อยเช่นกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อุณหภูมิสูงขึ้น ๆ รากของพืชก็จะดูดน้ำได้น้อยเช่นกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อุณหภูมิสูงหรือตํ่าเกินไปไม่เหมาะต่อการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของพืช ก็เกิดผลทำให้พืชไม่เจริญเติบโตได้ หรือชะงักการเจริญเติบโตในชั่วระยะเวลานั้น ๆ ปัญหาที่ว่าอุณหภูมิตํ่าเกินไป ทำให้ดินเย็นนั้น คงจะไม่เป็นปัญหา เพราะประเทศเราเป็นประเทศร้อน แต่มีปัญหาเกี่ยวกับความร้อนในดิน หรืออุณหภูมิสูงเสียมากกว่า ซึ่งมีผลกระทบ กระเทือนต่อต้นอ่อนของพืช เพราะจะทำให้ต้นอ่อนของพืชเฉา เนื่องจากความชื้นในดินระเหยไปหมด ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ กระทำได้โดยการหาวัตถุคลุมดิน เช่นหญ้าหรือฟางคลุมดินไว้
3. แสงสว่าง มีความจำเป็นต่อพืชมาก เพราะแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานที่จะทำให้พืชเจริญเติบโต ประโยชน์ของแสงสว่างที่มีต่อพืชมีดังนี้
·         เป็นพลังงานที่พืชใช้ในการปรุงอาหาร แสงสว่างที่ส่องลงมาจะต้องมีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของพืชแต่ละชนิด เพราะพืชต่าง ๆ ใช้แสงสว่างไม่เท่ากัน แสงน้อยเกินไป พืชจะปรุงอาหารไม่ได้ ดังนั้นในการดูแลรักษาต้นไม้ จำเป็นจะต้องตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดส่องลงให้ทั่วถึงทั้งต้น เพื่อให้ใบทุกใบทำหน้าที่ปรุงอาหารให้เต็มที่
·         เกี่ยวกับความงอกงามของเมล็ดพืช เพราะแสงแดดมีแสงอินฟราเรด เป็นแสงที่ช่วยให้พืชงอกงามเร็ว นอกจากเกี่ยวกับการงอกงามของเมล็ดแล้ว แสงสว่างยังช่วยทำให้ลำต้นเจริญรวดเร็วด้วย ดังจะเห็นได้จากต้นไม้ มักจะเอนเข้าหาแสงสว่างอยู่เสมอ ถ้าที่ถูกแสงสว่างมาก มักจะเจริญรวดเร็วกว่าด้านที่ถูกแสงสว่างมาก มักจะเจริญรวดเร็วกว่าด้านที่ไม่ถูกแสงสว่าง
·         เกี่ยวกับทางสรีระภายใน พืชบางอย่างจะออกดอกในเมื่อได้รับแสงสว่างเพียงพอ แสงมากไปหรือน้อยไปก็ไม่ออกดอก ดังนั้นในการปลูกต้นไม้ ผู้ปลูกจะต้องทราบว่า ต้นไม้แต่ละชนิดนั้น ต้องการแสงสว่างมากหรือน้อยเพียงใด ถ้าแสงแดดมากเกินไปก็จะเผาใบไม้ไหม้ ใบไม้นั้นก็ไม่สามารถจะทำหน้าที่ปรุงอาหารได้ เมื่อปรุงอาหารไม่ได้ต้นไม้ก็ชะงักการเจริญเติบโต และในทางตรงกันข้าม ถ้านำต้นไม้ที่ชอบกลางแจ้งไปปลูกในร่มที่ไม่ได้รับแสงแดด ต้นไม้ก็ไม่เจริญเติบโต เพราะไม่มีแสงแดดสำหรับ เป็นพลังงานในการสังเคราะห์แสง (ปรุงอาหาร)
4. ความชุ่มชื้น ความชุ่มชื้น หมายถึง ความชุ่มชื้นที่อยู่ในดิน และความชุ่มชื้นที่อยู่ในอากาศ ความชุ่มชื้นที่อยู่ในดิน สำหรับละลายแร่ธาตุต่าง ๆ แล้วรากก็ดูดส่งไปตามลำต้นถึงกิ่งและใบ เมื่อได้รับแสงสว่างก็ปรุงแต่งให้เป็นอาหารบำรุงโครงร่างของต้นไม่ให้เจริญเติบโตต่อไป ดินที่อุดมสมบูรณ์หากขาดน้ำเสียแล้ว รากก็ไม่สามารถจะดูดเอาแร่ธาตุที่เป็นอาหารของพืชมาจากดินได้ ดินที่สมบูรณ์นั้นก็หาประโยชน์มิได้ นอกจากความชุ่มชื้นในดินแล้ว ความชุ่มชื้นในอากาศก็มีความจำเป็นต่อต้นไม้ เพราะทำให้ต้นไม้สดชื่นอยู่เสมอสีไม่เหี่ยวเฉา
5. อากาศ ในอากาศมีก๊าซสคาร์บอนไดออกไซด์ (co2) และก๊าซอ๊อกซิเจน (o2) พืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปทางใบ เพื่อนำไปสร้างน้ำตาลกลูโคส (C6H12o6) ส่วนก๊าซอ๊อกซิเจนที่ต้นไม้หายใจเข้าไป เพื่อนำไปทำให้น้ำตาลกลูโคสสลายตัว ก่อให้เกิดกำลังงานสร้างความชื้นเพื่อถ่ายเทให้แก่ต้นไม้ การถ่ายเทของอากาศจะช่วยให้น้ำในใบของต้นไม้ระเหยได้เร็ว ซึ่งเรียกว่า การคายน้ำเมื่อต้นไม้คายน้ำ ทำให้น้ำในต้นไม้น้อยลงไป รากก็จะดูดน้ำจากที่ละลายปุ๋ย หรือมีอาหารของพืชขึ้นมาแทนน้ำที่ระเหยไป ไปตามกิ่งก้านของต้นไม้ ส่งไปยังใบปรุงแต่งเป็นอาหาร ต้นไม้ก็เจริญเติบโตขึ้น
6. ปุ๋ย หรืออาหารของพืช พืชต้องการอาหาร ซึ่งเป็นแร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในดิน ในอากาศ หรือในน้ำ เพื่อไปสร้างความเจริญเติบโตให้แก่พืช แร่ธาตุที่พืชต้องการนั้นมีด้วยกันหลายชนิด ธาตุแต่ละชนิดทำให้เกิดประโยชน์แก่พืชไม่เหมือนกัน พืชแต่ละชนิดก็ต้องการแร่ธาตุที่เป็นอาหารไม่เหมอนกัน ปุ๋ยหรืออาหารของพืชนี้ จะกล่าวในเรื่องการใช้ปุ๋ยต่อไป
7. ปราศจากศัตรูและโรค ต้นไม้แม้จะมีอาหารดี ถ้าถูกศัตรูรบกวนก็จะทำให้ต้นไม้นั้นไม่ เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาศัตรูของต้นไม้แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
·         สัตว์ต่าง ๆ ได้แก่สัตว์ที่มารบกวนหรือทำลายต้นพืช แต่ส่วนใหญ่ได้แก่ตัวแมลงต่าง ๆ
·         โรค โรคของพืชแบ่งออกเป็น 2 พวก ย่อย ๆ คือ โรคที่เกิดจากเชื้อได้แก่ เชื้อรา บัก­เตรี และเชื้อวิสา (Virus) พวกหนึ่งกับโรคที่ ไม่มีเชื้ออีกพวกหนึ่ง โรคเหล่านี้ได้แก่โรคที่เกิดจากสภาพทางฟิสิกส์ เช่น สภาพของดิน หรือการขาดอาหารบางอย่าง หรืออาหารเป็นพิษ

เมื่อพืชต่าง ๆ เป็นโรค ก็ต้องพิจารณาดูว่าโรคนั้นเกิดจากอะไร แล้วจึงใช้ยากำจัดโรคและกำจัดแมลงนั้น ๆ