วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดอกดาวกระจาย

ดอกดาวกระจาย
ดอกดาวกระจายดอกดาวกระจาย
ผลดาวกระจาย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงแคบ มีสันประมาณ 3-4 สัน ผลค่อนข้างแข็ง มีรยางค์เป็นหยามยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร
สรรพคุณของดาวกระจาย
ช่วยกระจายลม ฟอกโลหิต (ทั้งต้น)[3]
ทั้งต้นดาวเรืองมีรสขม เป็นยาสุขุม ไม่มีพิษ โดยออกฤทธิ์ต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับและไต ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้
ช่วยแก้ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ลำคอปวดบวม (ทั้งต้น)
ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดกระเพาะ (ทั้งต้น) บ้างว่าใช้ใบและต้นนำมาต้มกับน้ำแล้วรินเอาแต่น้ำมาดื่มเป็นยาแก้อาการท้องร่วง (ใบและต้น
ใช้แก้บิด ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30-70 กรัม นำมาต้มผสมกับน้ำตาลเล็กน้อยแล้วใช้รับประทาน (ต้น)
ช่วยแก้ฝีในลำไส้ (ทั้งต้น)
ช่วยแก้ตับอักเสบเฉียบพลัน ไตอักเสบ (ทั้งต้น)
ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษงูกัด โดยการนำต้นสดมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนกากที่เหลือให้นำมาพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น,ใบและต้น)
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาบาดแผล (ทั้งต้น,ใบและต้น)
ใช้แก้อาการฟกช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30-70 กรัม นำมาตำให้แหลก ต้มกับน้ำผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ใช้รับประทานวันละ 1 ครั้ง (ต้น)
ข้อควรระวัง ! : สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของดาวกระจาย
ทั้งต้นดาวเรืองพบว่ามีสาร Alkaloid, Choline, Glycoside, Lavanol, Saponin, Tannin
ก้านและใบดาวเรืองพบว่ามีสารที่ให้รสขม หรือ Bittera และยังพบว่ามีน้ำมันระเหยอีกเล็กน้อย
สารสกัดที่ได้จากต้นสดของดาวกระจาย รวมกับหนอนหม่อนแห้ง แล้วนำไปให้หนูที่มีอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบ (ใช้ 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม) กินติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 วัน พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการยับยั้งอาการปวดข้อและข้ออักเสบได้ แต่ต้องใช้ทั้งสองชนิดรวมกัน หากแยกใช้ตัวใดตัวหนึ่งจะไม่เห็นผล

สารที่สกัดได้ด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Staphylo coccus ภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น